ผิดตั้งแต่วิธีคิด ทำชีวิต”ป่วย”เรื้อรัง
ป่วยบ่อย

ผิดตั้งแต่วิธีคิด ทำให้ชีวิตป่วยเรื้อรัง

คนที่ป่วย เป็นนั่นเป็นนี่บ่อยครั้ง ทั้งๆที่ก็ดูแลสุขภาพดี กินยาตามที่คุณหมอสั่งตลอด แต่ก็ยังป่วยเป็นเพราะอะไรกันแน่? ทุกวันนี้เมื่อเราป่วยเรามักจะไปหาแพทย์แผนปัจจุบัน ตามโรงพยาบาลหรือคลินิก พอแพทย์วินิจฉัยอาการว่าเป็นโรคอะไร คนไข้หรือญาติก็เดินไปจ่ายเงินและรับยา กลับมาบ้านก็รับประทานยาตามที่สั่ง...

การเจ็บป่วยและกระบวนการรักษาของคนไทยมักเป็นอย่างนี้ เป็นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เสมือนหนึ่งเป็นเรื่องปกติและ เป็นหนทางเดียวในการรักษาให้หายป่วยไข้ แต่เราหลงลืมอะไรไปหรือเปล่าและที่สำคัญ... เราเข้าใจอะไรกันผิดไปหรือไม่มีบางเรื่องที่หมอทั่วไปอาจจะบอกผ่านๆ หรือไม่ได้บอกคุณให้ชัดเจน หากข้อมูลไม่เพียงพอก็เกิดความเข้าใจผิด... จนทำให้ป่วยเรื้อรังกันไปใหญ่

ความเข้าใจผิดแรก : ป่วยเป็นอะไร ก็ไปรักษาโรคนั้นสิ

ฟังดูเผินๆ เป็นเรื่องที่เข้าใจกันจนแทบไม่ต้องโต้เถียงว่าถ้า ป่วย เป็นอะไร ก็ให้รักษาตามอาการ แต่อันที่จริง หากคิดเพียงแค่นั้น ถือว่าไม่ใช่การรักษาให้หายขาดอย่างแท้จริง และ โอกาสที่จะมีชีวิตอย่างสดชื่นแข็งแรงก็ลดน้อยลงเต็มที อันนี้เป็นเรื่องเข้าใจผิดที่คนทั่วไปคิดว่า แค่รักษาอาการนั้นๆ ให้จบไป และ ก็ไปมีชีวิตปกติได้... เท่านี้จริงๆ หากว่ากันตามจริงแล้ว ไม่ใช่หลักคิดที่ถูกต้องสักทีเดียวนัก เมื่อถาม แพทย์แผนจีน ที่มุ่งรักษาอย่างครบวงจร จะพบว่า ในการรักษาโรคนั้น การแพทย์จีนมุ่งเน้นการดูแลรักษาที่ต้นเหตุของโรค มากกว่าการรักษาตามอาการอย่างแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น เมื่อผู้ป่วยมีอาการไอ แพทย์แผนปัจจุบันอาจจัดยาแก้ไอให้กับผู้ป่วย เพื่อให้หยุดไอ แต่ในมุมมองของแพทย์แผนจีนแล้วเมื่อมีอาการไอ อาจเป็นอาการที่ร่างกายแสดงออกว่าปอดของเรามีอาการผิดปกติ แสดงว่าปอดของเราไม่ดี จึงควรเลือกกินอาหารหรือสมุนไพรบำรุงปอดเพื่อรักษาที่ต้นเหตุ เมื่อมีอาการปวดหัว แพทย์แผนจีนจะวินิจฉัยว่าอาจเกิดจากประสาทเครียด ประสาทเครียดในทางแพทย์จีนเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ  โรคที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับหัวใจ อารมร์ติดขัด ตับไม่เก็บกักจิตวิญญาณ ครุ่นคิดมากเกินไป หัวใจและไตทำงานไม่ประสานกัน ชี่หัวใจไม่พอ จึงจะแนะนำให้ทานอาหารหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยในการนอนหลับ เพื่อให้หัวใจของเราสงบ และ ช่วยให้อาการปวดหัวหายไปในที่สุด

หากรักษาสุขภาพที่ต้นเหตุเช่นนี้แล้ว ก็เหมือนกับการรักษาสองจุดภายในคราวเดียวนั่นคือ นอกจากจะทำให้อาการป่วยดีขึ้นแล้ว อวัยวะที่เป็นต้นเหตุแห่งอาการป่วยก็ได้รับการบำรุงฟื้นฟูอย่างตรงจุดอีกด้วย จึงทำให้ผู้ป่วย หายจากอาการเจ็บป่วยและมีสุขภาพที่ดีได้อย่างยั่งยืน

ความเข้าใจผิดที่สอง : รักษาอาการ ป่วย แล้วจบกัน

เมื่อมีอาการป่วย หลายคนคิดเพียงว่า ก็ไปหาหมอกินยาตามสั่ง จากนั้นก็กลับไปมีชีวิตตามปกติ แค่นั้นก็หายป่วยแล้วหรอ? อันที่จริง การรักษานั้นไม่ได้หมายความว่าให้อาการหายแล้วจบกัน เพราะแท้จริงอาการเจ็บไข้นั้นเป็นผลแบบ "สั่งสม" นั่นคือ มีความเป็นมาของอาการและเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคน ดังนั้น การรักษาจบแล้วก็จบกัน จึงเป็นความเข้าใจที่ผิด และ ต้องปรับแก้ใหม่ "ต้องรักษาให้หายและฟื้นฟู ตลอดจนถึงป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นใหม่" การแพทย์แผนจีนเน้นการ "บำรุงฟื้นฟูและป้องกันโรคเรื้อรัง" มากกว่าการรักษาโรคฉุกเฉิน ซึ่งลักษณะการรักษาเช่นนี้ มีข้อเสียคือ ได้ผลไม่ทันใจผู้ป่วย เห็นผลช้ากว่าแพทย์แผนปัจจุบันจนผู้ป่วยที่อยากจะหายไวๆ อาจจะถอดใจ ล้มเลิกความตั้งใจ เลิกรักษาตามศาสตร์แพทย์แผนจีนไปเสียก่อนที่จะได้รับการบำรุง พื้นฟูและรักษาให้หายขาดอย่างแท้จริง ทำให้ ป่วยบ่อย เพราะเราไม่ได้หายจากโรคนั้นอย่างแท้จริง เนื่องจากแพทย์แผนจีนเชื่อว่าการรักษาเฉพาะที่ปลายเหตุนั้น ทำให้เห็นผลไว แต่ได้แค่ชั่วคราว แต่อาการของโรคนั้นๆ อาจจะกลับมาเป็นได้อีก เพราะต้นเหตุของาอาการเจ็บป่วยยังไม่ได้รับการรักษาให้หายขาด และ กลับเข้าสมดุลที่เหมาะสม

การรักษาที่ต้นเหตุนั้นแม้จะเห็นผลช้าแต่ก็ยั่งยืนกว่า ที่สำคัญคือการใช้ยาบางตัวของแพทย์แผนปัจจุบันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง บางอย่างได้ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่แพทย์เลือกใช้ แต่สำหรับสมุนไพร แม้จะเห็นผลช้ากว่า แต่ถ้าหากได้รับคำแนะนำในการรับประทาน ที่ถูกต้อง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็สามารถรับประทานได้ โดยปราศจากผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย หรือ น่ากลังวลใจ

ความเข้าใจผิดที่สาม :มีเพียงแพทย์แผนปัจจุบันที่เชื่อถือได้

เพราะเราอยู่ในยุคที่การแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหนทางเลือกที่ง่ายดาย และ สะดวกที่สุดแถมยังได้รับการยอมรับผ่านสื่อใหญ่ต่างๆ มาเป็นระยะเวลาหลายสิบปีจนกระทั่งเมื่อตื่นขึ้นมาวันหนึ่ง เราอาจจะหลงลืมไปแล้วว่า เมื่อเราเจ็บป่วยนั้น ยังมีหนทางอื่นในการรักษาเยียวยา เพราะเชื่อเหลือเกินว่ามนุษย์ไม่เคยมีทางเลือกเพียงหนึ่งเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แพทย์แผนทางเลือกอย่างแพทย์แผนจีน ซึ่งสั่ง ความรู้มาอย่างยาวนานหลายพันปี แต่น่าเสียดายที่ถูกสื่อกระแสหลัก กลบเกลือนหายไปในสังคม มิหนำซ้ำ วิธีการรักษาของแพทย์แผนจีน อาจไม่เป็นที่มักคุ้นของคนในปัจจุบัน

เรามาอธิบายส่วนนี้กันดีกว่า... บางคนอาจรู้สึกสงสัยและนึกแปลกใจว่า แพทย์แผนจีนจะรู้ได้อย่างไรว่าเรา ป่วย ตรงไหนและมีต้นเหตุจากอวัยวะใดบ้าง? ในขณะแพทย์แผนปัจจุบันมีการตรวจวัดคลื่นหัวใจ และ การตรวจร่างกายในส่วนต่างๆ แพทย์แผนจีนก็สามารถบ่งบอกอาการและ ความเป็นไปภายในร่างกายของเราได้โดย การดู การดม การถาม และการสัมผัส อย่างหลังนี้คือวิธีการตรวจชีพจรที่ข้อมือ หรือ "การแมะ" การแมะ การแมะ คือการตรวจชีพจรที่บริเวณข้อมือ ซึ่งจุดเหล่านี้เชื่อม  ต่อกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด ม้าม ซึ่งถือ เป็นอวัยวะสำคัญ หากพบว่าส่วนเหล่านี้ผิดปกติ ก็จะสามารถบ่งบอก อาการเจ็บป่วยของร่างกายได้ แพทย์จีนสามารถใช้การแมะเพื่อตรวจการทำงานของระบบต่างๆภายในร่างกายของเราอย่างแม่นยำด้วยความรู้ ความสามารถ และ ประสบการณ์ ทำให้ทราบว่ากำลังป่วยเป็นอะไรอยู่ มีอาการของโรค เป็นอย่างไร มีสาเหตุหลักๆ จากอวัยวะใดบ้าง เพื่อที่เราจะสามารถ ปรับสมดุลภายในร่างกายของเราได้อย่างตรงจุด ก่อนที่จะกำหนดวิธี การรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เช่น กินยาสมุนไพร ฝังเข็ม นวด กดจุด ฯลฯ เพื่อการรักษาที่ได้ผลอย่างตรงจุด
ปรึกษาปัญหาสุขภาพกับคุณหมอ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล หนังสือสมุนไพรจีน เรื่องที่หมอไม่เคยบอกคุณ ป่วยบ่อยอาจเพราะไม่ค่อยมีภูมิคุ้มกัน | Bangkok Hospital

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า