แพทย์จีนโบราณ ในยุคที่การแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้าอย่างทุกวันนี้ ประชาชนจำนวนมากต้องล้มตายเพราะโรคภัยไข้เจ็บ แต่ด้วยความมุมานะศึกษาค้นคว้าอย่างยากลำบากของหมอสมุนไพรจีนนามว่าหลี่สือเจิน ในยุคราชวงศ์หมิง (明 ค.ศ. 1368-1644) ทำให้ประชาชนได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี และเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เรื่องสรรพคุณของสมุนไพรจีนขึ้นในโลก
หลี่สือเจินมีชื่อรองว่าตงปี้ (東璧) เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ.1518 ที่อำเภอฉีชุน (蘄春) มณฑลหูเป่ย (湖北) ปู่ของเขาเป็นหมอสมุนไพร ส่วนบิดานามว่าหลี่เหยียนเหวิน (李言聞) เป็นหมอที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ด้วยความที่เกิดในครอบครัวหมอ หลี่สือเจินจึงซึมซับและสนใจด้านการแพทย์ตั้งแต่ยังเด็ก
ฐานะของแพทย์ในสมัยนั้นไม่สู้ดีนัก ชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก หลี่เหยียนเหวินผู้เป็นบิดาจึงไม่อยากให้หลี่สือเจินประกอบอาชีพเดียวกันตน แต่อยากให้รับราชการเป็นขุนนางมากกว่า เมื่อบุตรชายอายุ 13 ปี บิดาจึงส่งเสริมให้เข้าสอบเป็นซิ่วไฉ* จนสำเร็จ แต่ต่อมาเข้าสอบเป็นจวี่เหริน* ถึง 3 ครั้งแต่สอบไม่ผ่าน บิดาจึงล้มเลิกความตั้งใจ หลี่สือเจินหันมามุ่งมั่นเอาดีด้านการแพทย์ ด้วยการติดตามบิดาออกรักษาผู้ป่วยขณะอายุ 23 ปี เขาค่อยๆ สั่งสมประสบการณ์จนเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ
หลี่สือเจิน ราชาสมุนไพร
การแพทย์แผนโบราณของจีนมีประวัติอันยาวนาน มีแพทย์แผน โบราณจีนและเภสัชกรที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นหลายคน ในสมัย ราชวงศ์หมิงเมื่อศตวรรษที่ 16 มีนักเภสัชศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคน หนึ่งชื่อหลี่สือเจิน เขาได้เขียนตำรายาสมุนไพรชื่อว่า ‘เปิ๋นฉ่าวกังมู่《本草纲目》’ ได้บันทึกสรรพคุณของยาสมุนไพรจีนต่างๆจนกลายเป็น ตำรายาสมุนไพรอมตะในประวัติเภสัชศาสตร์ของจีน
หลี่สือเจิน (李时珍,ราวปีค.ศ. 1518 – 1593) เป็นชาวฉี่โจว (คืออำเภอฉี่ชุน ของมณฑลหูเป่ยในปัจจุบัน) ฉีโจวเป็นเขตที่มีต้นสมุนไพรมากมาย หลายชนิด บิดาของหลี่สือเจินเป็นหมอ หลี่สือเจินจึงมีความ สนใจโลกธรรมชาติตั้งแต่เด็กและมักจะตามบิดาไปเก็บสมุนไพรที่เขตเขา พอกลับถึงบ้านก็นำสมุนไพรที่เก็บได้มาปรุงเป็นยา แต่เนื่องจาก ผู้เป็นหมอในสมัยนั้นมีฐานะทางสังคมค่อนข้างต่ำ บิดาของเขาจึง อยากจะให้ลูกชายไปเรียนหนังสือเพื่อรับราชการในอนาคต
ปี ค.ศ. 1531 หลี่สือเจินวัย 14 ปีสอบตำแหน่งซิ่วไฉ (บัณฑิต ระดับชนบท) ได้ เขาไปสอบ ‘จวี่เหริน’ ถึงสามครั้ง แต่ตกรอบทุกครั้ง ตั้งแต่นั้นมาลี่สือเจินจึงตั้งอกตั้งใจศึกษาแพทยศาสตร์ตามบิดา และช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บของชาวบ้าน เพื่อให้สมกับที่ได้เป็นหมอ หลี่สือเจินมักจะไปเยี่ยมชาวประมง นักล่าสัตว์ เกษตรกรและคนปลูก สมุนไพรเสมอ ได้รวบรวมตำรายาพื้นเมืองมากมาย นอกจากนั้นเขายังใช้การสังเกตอย่างละเอียดและทำการทดลองซ้ำๆซากๆ จนมีความรู้ที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับสรรพคุณของยาสมุนไพรชนิดต่างๆมากมาย
ปี ค.ศ. 1551 ในขณะที่หลี่สือเจินเป็นหมอผู้มีชื่อเสียง มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระโอรสของฉู่อ๋องป่วยลงอย่างกระทันหัน เมื่อได้รับการรักษาจากหลี่สือเจินแล้ว ก็หายอย่างรวดเร็ว ฉู่อ๋องดีพระทัยมาก จึงเสนอให้เขาไปเป็นแพทย์หลวงในวัง
จักรพรรดิในสมัยนั้นหลงเชื่อลัทธิเต๋า ใฝ่ฝันจะได้ยาอายุวัฒนะ นายแพทย์ทั้งหลายต่างก็มีความคิดเช่นเดียวกันกับจักรพรรดิแต่หลี่ สือเจินไม่มีความมุ่งมั่นในการแสวงหาชื่อเสียงและกำไร อีกทั้งสถานพยาบาลในวังก็่มีบรรยากาศน่าอึดอัดทำให้เขาไม่สามารถอุทิศ ตนรักษาโรคให้ประชาชนตามความตั้งใจได้ ทำงานรักษาพยาบาลในวังไม่ถึงปีเขาก็ลากลับบ้าน ยังคงใช้ชีวิตเป็นหมอรักษาโรคให้ชาว บ้านและเรียบเรียงหนังสือตำรายาไปพร้อมกัน
ในระหว่างรักษาโรคให้กับคนอื่นนั้น หลี่สือเจินพบว่า ตำรายา ‘เปิ่นฉ่าว’ ของบรรพบรุษมีบางส่วนเชื่อถือไม่ได้ บางที่ แบ่งหมวดหมู่ไม่ชัด บางที่บันทึกสรรพคุณของยาไม่ถูกต้อง บางที่ก็มีเนื้อหาด้านไสยศาสตร์และเหลวไหลไร้สาระและบางแห่งก็มี เนื้อหาที่ผิดพลาด หลี่สือเจินตระหนักว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ เกี่ยวพันถึงสุขภาพร่างกายตลอดจนชีวิตของประชาชน เขาเริ่มตระหนัก ถึงภาระหน้าที่ของตนในการเรียบเรียงหนังสือตำรายาขึ้นใหม่ เมื่อปี 1552 หลี่สือเจินวัย 35 ปีเริ่มมุ่งมั่นในการเรียบเรียงหนังสือตำรา ‘เปิ่น ฉ่าวกังมู่’
เพื่อเรียบเรียงหนังสือตำรายาเล่มใหม่ หลี่สือเจินได้พลิกอ่าน บทประพันธ์ด้านแพทยศาสตร์กว่า 800 เล่มและหนังสือสมัยโบราณอื่นๆอีกมากมาย เขาได้ปรับปรุงแก้ไขตำรายาที่ตนเองเรียบเรียงถึงสามครั้งด้วยข้อมูลที่ตนเองรวบรวมจากภาคปฏิบัติและได้ระดมกำลังของสมาชิกทั้งครอบครัว ลูกชาย หลานชายและแม้กระทั่งลูกศิษย์ของเขา เข้าร่วมงานตรวจสอบอักษร คัดลอกและวาดรูป เป็นต้น ในที่สุดในปี 1578 หลี่สือเจินได้เรียบเรียงหนังสือตำรายา ‘เปิ่นฉ่าวกังมู่’ จนสำเร็จด้วยความพยายามเกือบ 30 ปี
‘เปิ่นฉ่าวกังมู่’ มีตัวอักษรกว่า 1 ล้าน 9 แสนคำ แบ่งเป็น 16 ตอน 60 หมวดหมู่ และ 50 เล่ม บันทึกสรรพคุณของยาสมุนไพร 1,892 ชนิด และใบสั่งยากว่า 11,000 ใบ นอกจากนี้ยังได้วาดรูปกว่า 1,000 ภาพ เพื่อให้ผู้คนรู้จักรูปร่างลักษณะของยาสมุนไพรจากภาพดังกล่าว
กล่าวได้ว่าความสำเร็จของหนังสือ ‘เปิ่นฉ่าวกังมู่’ มีหลายด้านด้วยกัน ประการแรกได้จัดแบ่งหมวดหมู่ของยาสมุนไพรที่บันทึกไว้ใหม่ทั้งหมด เช่น แบ่งหมวดหมู่ยาสมุนไพรประเภทพืชและสัตว์ ตามหลักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการของยุโรปกว่าจะมีการแบ่งหมวดหมู่ทำนองนี้ก็ต้องถึงปี ค.ศ. 1741 ซึ่งช้ากว่าหลี่สือเจินถึง 200 ปี
ประการต่อมา ‘เปิ่นฉ่าวกังมู่’ ได้แก้ไขและขจัดข้อผิดพลาดหรือข้อความที่คลุมเครือ ไม่ชัดเจนในหนังสือตำรายาของบรรพบุรุษ ได้เพิ่มเติมยาสมุนไพรที่ พบใหม่หรือสรรพคุณใหม่ของยา
นอกจากนั้น หลี่สือเจินยังได้วิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาที่เป็นไสยศาสตร์และเหลวไหลไร้สาระในหนังสือตำรายาของอดีต ในสมัยของหลี่สือเจิน สังคมต่างนิยมลัทธิเต๋าและวิธีการกลั่นยา อายุวัฒนะ ความคิดด้านไสยศาสตร์แพร่หลายเข้าไปในแพทยศาสตร์ หลี่สือเจินได้หักล้างข้อความที่ผิดพลาดเหล่านี้ด้วยทัศนคติวัตถุนิยมที่เรียบง่ายของตน
หลี่สือเจินได้ทุ่มเทกำลังชั่วชีวิตสรุปประสบการณ์ในการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรของประชาชนจีนในช่วงหลายพันปีและเรียบเรียงเป็น หนังสือ ‘เปิ่นฉ่าวกังมู่’ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงได้เป็นเภสัชกร ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยโบราณของจีน
‘เปิ่นฉ่าวกังมู่’ ได้แพร่หลายไปทั่วโลกตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 กลายเป็นตำราสำคัญที่ผู้ศึกษาค้นคว้าด้านเภสัชศาสตร์ต้องนำมาศึกษาอ้างอิง ปัจจุบันหนังสือเล่มนี้มีฉบับแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และภาษาละติน เป็นต้น